ประวัติ ของ เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน

ฮิปโปแคมปัส (hippocampus ป้ายอยู่ด้านขวา) ส่วนมากในสมองทั้งสองซีกของนายโมไลสันได้รับการตัดออก

นายเฮนรี โมไลสันเกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469)และมีโรคลมชักที่แก้ไม่ได้ (intractable epilepsy) ที่บางครั้งโทษว่า เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุจักรยานเมื่อเขาอายุ 7 ขวบ(ตอนแรก ๆ อุบัติเหตุนี้บอกว่าเกิดขึ้นที่อายุ 9 ขวบ แต่ต่อมาภายหลังได้รับการแก้โดยมารดาของคนไข้[4]) เขาประสบปัญหาการชักเฉพาะส่วน (focal seizures) เป็นเวลาหลายปีและได้เกิด tonic-clonic seizure[Note 3] หลายครั้งหลายคราวหลังจากครบอายุ 16 ปีในปี ค.ศ. 1953 หมอได้ส่งให้เขาไปหาประสาทแพทย์ วิลเลียมส์ บีชเชอร์ สโกวิลล์ ที่โรงพยาบาลฮาร์ตเฟิร์ดเพื่อการรักษา[Note 2]

น.พ. สโกวิลล์ได้กำหนดส่วนเฉพาะของสมองที่เป็นแหล่งกำเนิดของการชักคือสมองกลีบขมับด้านใน (medial temporal lobe ตัวย่อ MTL) ในสมองทั้งสองซีกและเสนอว่าให้ตัด MTL ออกเป็นการรักษาในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1953 มีการผ่าตัดสมองกลีบขมับด้านในในซีกสมองทั้งสองรวมทั้งส่วนของฮิปโปแคมปัสและส่วนที่อยู่ใกล้ ๆ รวมทั้งอะมิกดะลาและ entorhinal cortexส่วนที่เหลือในฮิปโปแคมปัสต่อมาปรากฏว่าไม่ทำงานเพราะว่าเนื้อเยื่อที่เหลือประมาณ 2 ซ.ม. เกิดการฝ่อ และเพราะว่า entorhinal cortex ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ส่งข้อมูลไปยังฮิปโปแคมปัส ถูกทำลายเสียหมดนอกจากนั้นแล้ว บางส่วนของสมองกลีบขมับส่วนหน้าด้านข้าง (anterolateral) ก็ถูกทำลายด้วย

หลังจากการผ่าตัด แม้ว่าจะจัดว่าสำเร็จตามแผนเพื่อระงับอาการชัก เขาได้เกิดภาวะเสียความจำส่วนอนาคต (anterograde amnesia) อย่างรุนแรงและแม้ว่าความจำใช้งาน (working memory) และความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) ของเขาไม่เกิดความเสียหาย เขาไม่สามารถจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของความจำชัดแจ้ง (explicit memory) ได้ตามนักวิทยาศาสตร์บางท่าน นายโมไลสันไม่สามารถเกิดความรู้โดยความหมาย (semantic knowledge) ใหม่ ๆ[5] แต่ก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ถกเถียงกันถึงขนาดขอบเขตของความพิการนี้เขายังประสบปัญหาภาวะเสียความจำส่วนอดีต (retrograde amnesia) แบบเบา ๆ อีกด้วย คือเขาไม่สามารถจำเหตุการณ์โดยมากในช่วง 1-2 ปีก่อนการผ่าตัดและไม่สามารจำเหตุการณ์บางอย่างไปจนถึง 11 ปีก่อนการผ่าตัด ซึ่งแสดงว่าภาวะเสียความจำย้อนหลังของเขาเป็นไปตามลำดับเวลาแต่ว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีระยะยาว (long-term procedural memory) ไม่เกิดความเสียหายดังนั้น เขาจึงสามารถเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill) ใหม่ ๆ ได้ แม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าได้เรียนมาเมื่อไรที่ไหน

ในปี ค.ศ. 1957 น.พ. สโกวิลล์และเบร็นดา มิลเนอร์ได้รายงานถึงกรณีนี้เป็นครั้งแรก[6] ในระยะสุดท้ายของชีวิตของเขา นายโมไลสันเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้เป็นประจำ[Note 4]เขาสามารถที่จะให้คำตอบต่อคำถามต่าง ๆ ที่อ้างอิงความรู้ของเขาที่เกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1953ส่วนข้อมูลหลังปี ค.ศ. 1953 เขาสามารถเติมเปลี่ยนข้อมูลเก่า ๆ ด้วยข้อมูลใหม่เช่น เขาสามารถสร้างความจำเกี่ยวกับ น.พ. โจนาส์ ซอลก์ (ผู้ค้นพบวัคซีนโปลิโอ) โดยเติมเปลี่ยนความจำของเขาเกี่ยวกับโรคโปลิโอ[Note 1]

นายโมไลสันได้เสียชีวิตไปในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)

ใกล้เคียง

เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน เฮนรี อานิเยร์ เฮนรี แควิลล์ เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เฮนรี จอร์จ เฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม เฮนรี คิสซินเจอร์ เฮนรี หลิว เฮนรี เดวิด ทอโร เฮนรียุวกษัตริย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน http://www.nytimes.com/2008/12/05/us/05hm.html http://www.wired.com/wiredscience/2014/01/hm-brain... http://thebrainobservatory.ucsd.edu/ http://brainconnection.positscience.com/topics/?ma... http://www.npr.org/templates/story/story.php?story... http://thebrainobservatory.ucsd.edu/hm_live.php http://www.bbc.co.uk/programmes/b00t6zqv http://www.brainconnection.com/topics/?main=fa/hm-... https://web.archive.org/web/20080209192921/http://... http://www.jneurosci.org/content/17/10/3964.short